เมนู

ภัย 3 อย่าง



พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงภัยที่มารดาและบุตรไม่ได้พบกัน
ที่ทรงประสงค์เอาอันมาโดยอ้อมอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงภัยโดยตรง
จึงตรัสคำว่า ติณีมานิ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชราภยํ
ได้แก่ ภัยที่อาศัยชราเกิดขึ้น. แม้ในภัย 2 อย่างนอกนี้ ก็มีนัย นี้แล.
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ภัย สิ่งที่น่ากลัว ความหวาด
เสียว ขนชูชัน ความสะดุ้งกลัวแห่งจิตเกิดขึ้น เพราะอาศัยชรา. . . เพราะ
อาศัยพยาธิ ภัย สิ่งที่น่ากลัว ความหวาดเสียว ขนชูชัน ความสะดุ้งกลัวแห่ง
จิตเกิดขึ้นเพราะอาศัยมรณะ. บทที่เหลือในทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาภยสูตรที่ 2

3. เวนาคสูตร



ว่าด้วยพระพุทธองค์ได้ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ 3 อย่าง



[503] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในประเทศ
โกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ถึงหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเวนาคปุระ
พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านเวนาคปุระได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดม
พระโอรสกษัตริย์สักยะ ทรงผนวชจากตระกูลกษัตริย์สักยะ เสด็จถึงหมู่บ้าน
เวนาคปุระแล้ว ก็แลพระโคคมผู้เจริญนั้นมีพระเกียรติศัพท์อันดีฟุ้งเฟื่องไป
อย่างนี้ว่า

อิติปิ โส ภควา แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อรหํ เป็นพระอรหันต์
สมฺมาสมฺพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
โลกวิทู เป็นผู้รู้โลก
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่พึงฝึกได้ ไม่มีผู้อื่น
ยิ่งกว่า
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย
พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว
ภควา เป็นผู้มีโชค
โส อิมํ โลกํ สเทวกํ สมารกํ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงกระทำ
สพฺรหฺมกํ สสฺสมณพฺราหฺมณึ ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระ-
ปชํ สเทวมนุสฺสํ สยํ อภิญฺญา องค์แล้ว ทรงประกาศให้โลกนี้กับทั้ง
สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ เทวโลกมารโลกพรหมโลก คือประ-
ชาชนรวมทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งเทวดา
และมนุษย์ให้รู้ทั่ว
โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิกลฺยาณํ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงธรรม
มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด
สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง

พฺรหฺมจริยํ ปกาเสติ
สาธุ โข ตถารูปานํ อรหตํ
ก็แลการได้พบเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย
ทสฺสนํ โหติ ผู้ทรงคุณวิเศษเห็นปานนั้น ย่อมเป็น
การดีแล
ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านเวนาคปุระ พากันไปเฝ้า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นไปถึงแล้ว บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
บางพวกแสดงความยินดีกับพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวถ้อยคำที่ทำให้เกิด
ความชื่นชมต่อกันให้ระลึกถึงกัน บางพวกประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
บางพวกร้องทูลชื่อและนามสกุล บางพวกนิ่ง (ไม่ทำอะไรทั้งนั้น) ต่าง
นั่งลง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พราหมณ์วัจฉโคตรชาวบ้านเวนาคปุระ นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์พระโคดม
ผู้เจริญไม่เคยมี พระอินทรีย์ของพระโคดมผู้เจริญแจ่มใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณ
บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ดังพุทราสุกในฤดูสารท ... ดังผลตาลสุก ที่เพิ่งหลุดจากขั้ว1 ...
ดังทองชมพูนท2 ที่บุตรช่างทองผู้มีฝีมือตกแต่งดีแล้ว ขัดอย่างดีแล้ว วางไว้บน
ผ้าบัณฑุกัมพลสุกปลั่งอร่ามจ้าอยู่ฉะนั้น ... ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ อุจจาสยนะ
(ที่นั่งที่นอนสูง) และมหาสยนะ (ที่นั่งที่นอนใหญ่) ทั้งหลาย คือ
อาสนฺทิ ม้าหรือเก้าอี้สำหรับนั่ง
ปลฺลงฺโก แท่นหรือเตียงมีรูปสัตว์ร้ายที่เท้า
1. เห็นจะหมายเอาตรงบริเวณขั้วเท่านั้น หรือมิฉะนั้นก็เนื้อใน
2. ชมพูนท ทองที่เกิดอยู่ตามแม่น้ำชมพูในอินเดีย แต่ครั้งกระโน้น

โคณโก เครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีดำขนยาวมาก
จิตฺติกา " " " ปักหรือทอเป็นลาย
ปฏิกา " " " สีขาว
ปฎลิกา " " " ปักเป็นสัณฐานพวงดอกไม้
ตูลิกา ฟูกยัดนุ่นหรือสำลี
วิกติกา เครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยรูปสีห์และเสือเป็นต้น
อุทฺธโลมิ " " " มีขนตั้ง
เอกนฺตโลมิ " " " มีขนล้มไปข้างเดียวกัน
กฏฺฐิสฺสํ เครื่องลาดทอด้วยด้ายทองแกมไหม
โกเสยฺยํ เครื่องลาดทอด้วยไหมล้วน
กุตฺตกํ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ กว้างพอนางระบำยืนฟ้อนรำได้
16 คน
หตฺถตฺถรํ เครื่องลาดหลังช้าง
อสฺสตฺถรํ " หลังม้า
รถตฺถรํ " บนรถ
อชินปฺปเวณิ เครื่องลาดทำด้วยหนังอชิน1
กาทลิมิคปวรปจฺจตฺถรณํ ที่นอนอย่างดีหุ้มด้วยหนังกทลิมฤค2
สอุตฺตรจฺฉทํ ประกอบด้วยผ้าดาดเบื้องบน
อุภโตโลหิตกุปธานํ3 มีหมอนสีแดงสองข้าง
1. อชิน เคยแปลกันว่าเสือ ในคำมณิกัณฐนาคราชพ้อดาบสว่า กินฺเต อชินสาฎิยา แปลกันว่า
" ประโยชน์อะไรของท่านด้วยผ้าหนังเสือ "
2. กทลิมฤค แปลว่า กวาง หรือชะมด
3. สองบทนี้ลางทีท่านแยกออกเป็นประเภทหนึ่ง ๆ สอุตฺตรจฺฉทํ ได้แก่ที่นอนมีเพดาน อุภโต-
โลหิตถุปธานํ ได้แก่หมอนข้าง
เครื่องลาดเหล่านี้เกี่ยวด้วยวินัย ลางอย่างแก้ไขแล้วใช้ได้ก็มี ที่อนุญาตให้ใช้ในภายหลังก็มี

อุจจาสยนมหาสยนะชนิดนี้ ๆ พระโคดมผู้เจริญ เห็นจะมีอยู่พอการ หาได้
ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคืองเป็นแน่
พราหมณ์ อุจจาสยนมหาสยนะทั้งหลาย คือม้านั่ง ฯ ลฯ หมอนสีแดง
สองข้าง อุจจาสยนมหาสยนะเหล่านั้น เป็นของหาได้ยากสำหรับบรรพชิต
และได้มาก็ไม่ควร อุจจาสยนมหาสยนะ 3 นี้สิ ที่เรามีพอการ หาได้ไม่ยาก
ได้อย่างไม่ฝืดเคือง อุจจาสยนมหาสยนะ 3 คืออะไร คืออุจจาสยนมหาสยนะ
ทิพย์ อุจจาสยนมหาสยนะพรหม อุจจาสยนมหาสยนะอริยะ นี้แล พราหมณ์
อุจจาสยนมหาสยนะ 3 ที่เรามีพอการ หาได้ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคือง
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อุจจาสยนมหาสยนะทิพย์ ที่พระโคดมผู้เจริญ
มีพอการ หาได้ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคือง เป็นไฉน.
พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใด (เป็นที่โคจรบิณฑบาต)
อยู่ ตอนเช้าเราครองสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าสู่หมู่บ้าน หรือตำบลนั้น
เพื่อบิณฑบาต เวลาหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้วก็เข้าป่า สิ่งใดมีอยู่
ในที่นั้น หญ้าหรือใบไม้ก็ตาม กวาดมันมารวมกันเข้า นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า เราสงัดจากกาม จากอกุศลกรรม
ทั้งหลาย เข้าปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่
วิเวกอยู่ ฯลฯ เข้าจตุตถฌานไม่ทุกข์ไม่สุข มีความบริสุทธิ์ด้วยสติอันเกิดเพราะ
อุเบกขาอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ เราเป็น (ผู้เข้าฌาน) อย่างนี้แล้ว ถ้าเราจงกรม
ที่จงกรมในสมัยนั้น นั่น เป็นที่จงกรมทิพย์ของเรา ถ้าเรายืน ที่ยืนในคราว
นั้นนั่น เป็นที่ยืนทิพย์ของเรา ถ้าเรานั่ง ที่นั่งในครั้งนั้น นั่น เป็นอาสนะทิพย์
ของเรา ถ้าเรานอน ที่นอนในคราวนั้น นั่น เป็นอุจจาสยนมหาสยนะทิพย์
ของเรา นี้แล พราหมณ์ อุจจาสยนมหาสยนะทิพย์ ซึ่งเรามีพอการ หาได้
ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคืองในบัดนี้

น่าอัศจรรย์ พระโคดมผู้เจริญ ไม่เคยมี... อันอุจจาสยนมหาสยนะ-
ทิพย์เช่นนี้ คนอื่นใครเล่าจักมีพอการ หาได้ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคือง
เว้นแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อุจจาสยนมหาสยนะพรหม ซึ่งพระโคดมผู้เจริญ
มีพอการ ฯลฯ ในบัดนี้เป็นไฉน.
พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใด (เป็นที่โคจรบิณฑบาต)
อยู่ ฯลฯ ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า เรามีใจไปกับเมตตา. . .กรุณา. . .มุทิตา
. . .อุเบกขา แผ่ไปตลอด 1 ทิศ ทิศที่ 2. . .ทิศที่ 3. . .ทิศที่ 4 ก็อย่างนั้น
โดยวิธีนี้ เรามีใจไปกับเมตตา เป็นใจกว้างใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศขวาง ทุกทิศ
เสมอทั่วหน้ากันหมดทั้งโลก ดูก่อนพราหมณ์ เราเป็น (ผู้มีใจอยู่ในพรหม-
วิหารภาวนา) อย่างนี้แล้ว ถ้าเราจงกรมที่จงกรมในสมัยนั้น นั่น เป็นที่จงกรม-
พรหมของเรา ถ้าเรายืน ที่ยืนในคราวนั้น นั่น เป็นที่ยืนพรหมของเรา
ถ้าเรานั่ง ที่นั่งในครั้งนั้นนั่น เป็นอาสนะพรหมของเรา ถ้าเรานอน ที่นอน
ในคราวนั้น นั่น เป็นอุจจาสยนมหาสยนะพรหมของเรา นี้แล พราหมณ์
อุจจาสยนมหาสยนะพรหม ซึ่งเรามีพอการ หาได้ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคือง
ในบัดนี้
น่าอัศจรรย์ พระโคคมผู้เจริญ ไม่เคยมี... อันอุจจาสยนมหาสยนะ-
พรหมเช่นนี้ คนอื่นใครเล่าจักมีพอการ หาได้ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคือง
เว้นแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อุจจาสยนมหาสนะอริยะ ซึ่งพระโคดมผู้เจริญ
มีพอการ ฯลฯ ในบัดนี้เป็นไฉน.
พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใด (เป็นที่โคจรบิณฑบาต)
อยู่ ฯลฯ ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า เรารู้ทั่วอย่างนี้ว่า ราคะเราละแล้ว
มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เหมือนตอตาลแล้ว ทำให้ไม่มีในภายหลังแล้ว มีอัน

ไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา โทสะ. เราละแล้ว ฯลฯ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
เป็นธรรมดา โมหะ เราละแล้ว ฯลฯ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ดูก่อนพราหมณ์ เราเป็น (ผู้รู้ทั่วถึง) อย่างนี้แล้ว ถ้าเราจงกรม ที่จงกรม
ในสมัยนั้น นั่น เป็นที่จงกรมอริยะของเรา ถ้าเรายืน ที่ยืนในคราวนั้น นั่น
เป็นที่ยืนอริยะของเรา ถ้าเรานั่ง ที่นั่งในครั้งนั้น นั่น เป็นอาสนะอริยะ
ของเรา ถ้าเรานอน ที่นอนในคราวนั้น นั่น เป็นอุจจาสยนมหาสยนะของเรา
นี้แลพราหมณ์ อุจจาสยนมหาสยนะอริยะ ซึ่งเรามีพอการ หาได้ไม่ยาก
ได้อย่างไม่ฝืดเคืองในบัดนี้
น่าอัศจรรย์ พระโคดมผู้เจริญ ไม่เคยมี. . .อันอุจจาสยนมหาสยนะ
อริยะเช่นนี้ คนอื่นใครเล่าจักมีพอการ หาได้ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคือง เว้น
แต่พระโคดมผู้เจริญ ดีจริงๆ พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญ ทรง
จำข้าพระองค์ทั้งหลายไว้ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะแล้ว ตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ไป.
จบเวนาคสูตรที่ 3

อรรถกถาเวนาคสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเวนาคสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-

จาริกมี 2 อย่าง



บทว่า โกสเลสุ ได้แก่ ในชนบทที่มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า จาริกํ
จรมาโน
ได้แก่ (พระผู้มีพระภาคเจ้า ) เสด็จพุทธะดำเนินไปสู่ทางไกล.
ธรรมดาว่า การเสด็จจาริกของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่ 2 อย่างคือ การเสด็จ
จาริกอย่างรีบด่วน 1 การเสด็จจาริกอย่างไม่รีบด่วน 1
. บรรดาการ